วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ




8.1 การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ
ความหมายและความสำคัญการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ
  การประสานประโยชน์
             การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและป้องกันผลประโยชน์ของตน หรือระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
     ผลดีของความร่วมมือระหว่างประเทศ
             ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศก่อให้เกิดสันติภาพและความเป็นธรรม เกิดการช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ เงินลงทุน เทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น    
    ผลเสียของการร่วมมือระหว่างประเทศ
             อาจก่อให้เกิดการกีดกัน นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มได้ อ่านเพิ่มเติม


8.2 การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน

ไทย – สาธารณรัฐฝรั่งเศส
1. ประธานาธิบดี ฌาคส์ ชีรัค
1.1 นายกรัฐมนตรีไทยเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 -11 ตุลาคม พ.ศ. 2548

1.2 ประธานาธิบดีพบหารือกับายกรัฐมนตรีรวม 4 ครั้ง คือ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ในระหว่างการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นการหารือนอกรอบการประชุม ASEM ครั้งที่ 5 ที่กรุงฮานอย ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ในระหว่างการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ และล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ในระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการ (State Visit) ของ ประธานาธิบดีชีรัค ซึ่ง Highlights ได้แก่
(1) การติดตามผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส (Joint Plan of Action)อาทิ การค้า การลงทุน อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สิทธิมนุษย์ชน



ความหมายของ"สิทธิมนุษยชน"

มีผู้ให้คำนิยาม " สิทธิมนุษยชน " ไว้หลายความหมาย เช่น

           จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) ข้อ 1 ที่ระบุไว้ว่า บุคคลชอบที่จะมีสิทธิและเสรีภาพประดามีที่ระบุไว้ในปฏิญาณนี้ ทั้งนี้โดยไม่มีการจำแนกความแตกต่างในเรื่องใดๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรือทางอื่นใด ชาติหรือสังคมอันเป็นที่มาเดิม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นใด นอกจากนี้การจำแนกข้อแตกต่างโดยอาศัยมูลฐานแห่งสถานะทางการเมืองทางดุลอาณาหรือทางเรื่องระหว่างประเทศของประเทศ หรือดินแดนซึ่งบุคคลสังกัดจะทำมิได้ ทั้งนี้ไม่ว่าดินแดนดังกล่าวจะเป็นเอกราชอยู่ในความพิทักษ์ มิได้ปกครองตนเองหรืออยู่ภายใต้การจำกัดแห่งอธิปไตยอื่นใด1

           หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนได้รับอย่างเสมอภาคกันเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างสันติสุข มีศักดิ์ศรี มีเสรีภาพ มีไมตรีจิต และมีความเมตตาต่อกัน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษา ศาสนา สถานภาพทางกาย หรือสุขภาพ2

           หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการคุ้นครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฏหมายไทยหรือสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคี
อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 กฏหมาย



ความหมายของกฎหมาย

กฎหมาย คือ  กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น  หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ  เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ  เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม

2.   ความสำคัญของกฎหมาย

2.1        เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยในสังคม  กิจกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศ  จะมีทั้งทางเศรษฐกิจ  สังคม  และการเมือง

2.2        เพื่อควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในสังคมให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม

2.3        เพื่อปกป้องและรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

3.   ลักษณะของกฎหมาย

3.1        เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับเพื่อให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติที่มีผลบังคับครอบคุมอย่างกว้างขว้างภายในอาณาเขตของรัฐแห่งหนึ่งๆ

3.2        เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ตราขึ้นโดยรัฐ

3.3        ต้องมีสภาพบังคับกฎหมายเมื่อตราออกมาหรือประกาศใช้แล้ว

3.4        มีผลใช้บังคับตลอดไป

3.5        มีความเสมอภาคและยุติธรรม อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข



5.1 รัฐ

รัฐ คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ อ่านเพิ่มเติม

5.2 ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์


      ตามการปกครองระบอบประชาธิปประไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น  เป็นการปกครองรูปแบบที่พระองค์จะทรงใช้พระราชอำนาจในฐานะประมุขของรัฐและในฐานะอื่นๆซึ่งเป็นไปตามที่รับธรรมนูญกำหนดไว้ ดังนี้
1. ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะ  ผู้ใดจะละเมิดมิได้  และผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้ององค์พระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้
2. ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย  ทรงเป็นมิ่งขวัญของทหารทุกเหล่าทัพ
3. ทรงเป็นพุทธมามกะ  และยังทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
4. ทรงไว้ซึ่งอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์  และพระราชทานเครื่องราชอิสริยภรณ์รวมทั้งถอดถอนเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์
5. ทรงไว้พระราชอำนาจในการแต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรประธานวุฒิสภา  รองประธานสภา  ผู้แทนราษฎร  รองประธานวุฒิสภา   และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผูแทนราษฎร
6. ทรงไว้ซึ่งอำนาจในการเรียกประชุมรัฐสภา อ่านเพิ่มเติม

5.3 การตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ

รูปแบบความสัมพันธ์ของการเมืองแบบมีส่วนร่วม (Participative Politics)

ความล้มเหลวของระบบประชาธิปไตย โดยผู้แทนได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อการพัฒนาการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นักวิชาการจึงได้เสนอทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาและจุดอ่อนของระบบประชาธิปไตยโดยผู้แทน โดยการเสนอระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมมาทดแทน หลักการสำคัญของระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมยึดหลักพื้นฐานที่ว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนสามารถใช้อำนาจได้เสมอแม้ว่าได้มอบอำนาจให้กับผู้แทนของประชาชนไปใช้ในฐานะที่เป็น “ตัวแทน” แล้วก็ตาม แต่ประชาชนก็สามารถเฝ้าดู ตรวจสอบควบคุมและแทรกแซงการทำหน้าที่ของตัวแทนของประชาชนได้เสมอ โดยสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ 4 ลักษณะ คือ อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ผลเมืองดี



4.1 พลเมืองดี

ความหมาย
       พลเมืองดี หมายถึง ประชาชนที่ประพฤติปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคมมีความรับผิดชอบต่อ
หน้าที่ ของตนเอง รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมไม่ละเมิดล่วงล้ำสิทธิ
และเสรีภาพของ บุคคลอื่น
ความสำคัญ
      พลเมืองเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมของสังคมไทย เช่นเดียวกับสังคมอื่น ๆ ทุกสังคมย่อมต้องการพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายถึงความมีร่างกายจิตใจดี คิดเป็น ทำเป็น แก้ไขปัญหาได้ มีประสิทธิภาพเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้า ความมั่นคงให้กับประเทศชาติและการเป็นพลเมืองดีนั้นย่อมต้องการปฏิบัติตามบรรทัดฐานและขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมมีคุณธรรมเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอีกด้วย เพื่อการพัฒนาสังคมให้ยั่งยืน อ่านเพิ่มเติม

4.2 คุณลักษณะของพลเมืองดี

คุณลักษณะของพลเมืองดีที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น  และช่วยจรรโลงให้สังคมประเทศชาติและโลกพัฒนาก้าวหน้า  มีดังนี้

1.ต้องเป็นบุคคลที่เคารพกฏหมาย
2.ต้องเป็นบุคคลที่เคารพสิทธิและเสรีภาพของตนเองและบุคคลอื่น
3.ต้องเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่มีต่อครอบครัว  ดรงเรียน  ชุมชน  ประเทศชาติ  และสังคมโลก
4.ต้องเป็นบุคคลที่มีเหตุผล  ใจกว้าง  และรับฟังความคิดเห็นของคนบุคคลอื่นเสมอ
5.ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน
6.ต้องเป็นบุคคลที่มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของชุมชน  ประเทศชาติ  และสังคมโลก  หรือองค์กรที่ตนสังกัดอยู่  เช่น  ร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและชุมชนให้ดีขึ้น อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วัฒนธรรม



3.1 วัฒนธรรม
ความหมายของวัฒนธรรม 
           วัฒนธรรม หมายรวมถึง ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมา นับตั้งแต่ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา  กฎหมาย  ศิลปะ จริยธรรม ตลอดจนวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ เพราะการจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้มนุษย์จะต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและจะต้องรู้จักควบคุมความประพฤติของมนุษย์ด้วยกัน วัฒนธรรม คือคำตอบที่มนุษย์ในสังคมคิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ อ่านเพิ่มเติม

3.2 วัฒนธรรมไทย


วัฒนธรรมไทย  มีความหมายครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นแบบแผนในความคิด และการกระทำที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง มนุษย์ได้คิดสร้างระเบียบกฎเกณฑ์วิธีการในการปฏิบัติ การจัดระเบียบตลอดจนความเชื่อ ความนิยม ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการควบคุม และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ อ่านเพิ่มเติม

3.3 การเปลี่ยนแปลงและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย

            วัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่อดีตของสังคมไทยที่ควรเปลี่ยนแปลง

                1. การทำงาน คนไทยมักทำงานจับจด ชอบทำงานสบายที่ได้เงินดีโดยไม่ต้องเปลืองแรง มักโทษโชคชะตาที่ไม่เข้าข้างตน ไม่มีระเบียบวินัย สิ่งที่จะต้องสร้างให้เกิดขึ้น คือ

             1.1 ความขยันและอดทน ทำงานหนัก และพึ่งตนเอง พื้นฐานของความสำเร็จของชีวิตและสังคมจะขึ้นอยู่กับความขยันและอดทนของแต่ละคนเป็นสำคัญ ในระบบการศึกษาของชาติที่พัฒนา เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้สอนให้คนในชาติขยัน อดทน ทำงานหนักมาตั้งแต่เล็ก นักเรียนต้องศึกษาอย่างจริงจังต้องใช้เวลากับวิชาต่างๆอย่างมากพอ ต้องอดทนต่อการเรียนอย่างเต็มที่ ดังนั้นความสำเร็จในการศึกษาของนักเรียนของชาติที่พัฒนาจึงขึ้นอยู่กับความขยันการอดทนและการทำงานหนักของเด็ก และสิ่งนี้จะถูกปลูกฝังและสั่งสมไปจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่  เมื่อคนในชาติเหล่านี้มีคุณภาพสูงมาตั้งแต่ต้น พวกเขาก็จะกลายเป็นกลไลสำคัญที่ผลักดันให้ชาติของเขาเจริญก้าวหน้าและมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตลอดเวลา อ่านเพิ่มเติม

3.4 ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล

เมื่อสังคมแต่ละสังคมได้สร้างวัฒนธรรมของตนเองขึ้นมาและมีเอกลักษณ์เฉพาะ  ที่ตั้งอยู่บนสภาวะแวดล้อมทางกายภาพและสังคม  หรือบริบทของสังคมนั้นๆ  แต่วัฒนธรรมของสังคมทุกสังคมมีความคล้อยคลึงกัน มีวัฒนธรรมพื้นฐานที่เหมือนกัน  นักมานุษยวิทยาและนักสังคมวิทยา  เรียกกันว่า “วัฒนธรรมสากล (global culture)”  แม้จะมีวัฒนธรรมพื้นฐานที่เหมือนกัน  แต่วัฒนธรรมแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน  ดังตัวอย่างเช่น  ทุกสังคมจะมีภาษา  แต่ภาษาของแต่ละสังคมจะแตกต่างกัน  บางสังคมใช้ภาษาไทย  บางสังคมใช้ภาษาอังกฤษ  และบางสังคมใช้ภาษาอาหรับ อ่านเพิ่มเติม

3.5 การเลือรับวัฒนธรรมสากล

ในยุคปัจจุบันโลกของเรามีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอย่างสูง เป็นยุคแห่งโลกาภิวัฒน์ ที่มีการเชื่อมโยงถึงกันได้อย่างง่ายดาย มีการติดต่อซึ่งกันและกัน เมื่อมีการติดต่อสื่อสารกันมากขึ้น ก็ย่อมส่งผลให้วัฒนธรรมมีการผสมผสานกันมากขึ้น จนในที่สุดมนุษย์จึงต้องมีการค้นหาหรือสร้างวัฒนธรรมสากลในด้านต่างๆ ขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน เช่น มีการกำหนดภาษาสากล ระบอบการเมืองการปกครอง มาตรฐานด้านความปลอดภัย เป็นต้น

        การที่หลายประเทศในโลกรวมถึงประเทศไทยมีความต้องการจะพัฒนาตนเองเพื่อก้าวสู่ความเป็นสากล วัฒนธรรมสากลจึงมีความสำคัญซึ่งคนในสังคมจำเป็นที่จะต้องศึกษาและรับมาเป็นแนวทางหนึ่งในการดำเนินชีวิต เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองและก้าวทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันหากมีการรับวัฒนธรรมสากลมากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียทำให้วัฒนธรรมดั้งเดิมของชาติสูญหายไป อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทางสังคม



2.1 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนเกือบไม่มีอะไรเปลี่ยนอย่างสำคัญในรอบร้อยปี แต่ในระยะประมาณร้อยปีที่แล้วสังคมจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากสภาพสังคมแบบโบราณกลายเป็นสังคมสมัยใหม่ ที่เห็นชัดเจนคือการเปลี่ยนจากสังคมแบบเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม จากสังคมแบบชนบทมาเป็นสังคมเมือง เป็นต้น เนื้อหาต่อไปจะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในประเด็นต่างๆ อ่านเพิ่มเติม

2.2 ปํญหาทางสังคม

       หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วม กันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น

สาเหตุของปัญหาสังคม

เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม การเป็นค่านิยมใหม่ ๆ ทำให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น
เกิดจากสมาชิกในสังคมบางกลุ่มไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมวางไว้ เช่น เกิดความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหมาย เกิดความล้มเหลวของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม หรือสมาชิกบางกลุ่มที่สร้างความเดือดร้อนให้ แก่สังคม ทำให้เกิดการขาดระเบียบและเป็นปัญหาทางสังคมขึ้น
เกิดจากการที่กลุ่มสังคมต่าง ๆ มีความคิดเห็นความต้องการและผลประโยชน์ขัดกันไม่ยอมร่วมมือแก้ไขปัญหา ของสังคม เช่น การเอาเปรียบลูกจ้าง เป็นต้น  อ่านเพิ่มเติม

2.3  แนวทางการแก้ไขและพัฒนาสังคม

ประเทศไทยได้มีการกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศที่ชัดเจนไว้ในแผนพัฒนาเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเริ่มตั้งแต่  พุทธศักราช  2504 ในระยะแรกแผนพัฒนาจะเน้นเรื่องเศษฐกิจมากกว่าสังคม และได้มีจุดเปลี่ยนขึ้นในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่  8
(พ.ศ. 2540-2544)  ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมากขึ้น  "โดยมุ่งเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา"
และใช้เศษฐกิจเป็นตัวช่วยพัฒนาให้คนในสังคม มีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น   จนมาถึงฉบับที่  9 ( พ.ศ. 2545-2549 )  ก็ใช้แผนพัฒนาเป็นไปในทางเดียวกันกับฉบับที่ 8  โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุล ทั้งสองด้าน  ทั้งด้านคน  สังคม  เศษฐกิจและ อ่านเพิ่มเติม