1.1 โครงสร้างทางสังคม
ความหมายของโครงสร้างทางสังคม
.......... โครงสร้างทางสังคม หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีแบบแผนในการปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน โครงสร้าง ของสังคม เปรียบได้กับบ้านเรือนที่เราอาศัยอยู่อย่าง สมบูรณ์ ประกอบด้วย โครงสร้างที่สำคัญหลายอย่าง เช่น คาน หลังคา พื้น ฝา ประตู หน้าต่าง เป็นต้น โครงสร้างของสังคมก็เช่นเดียวกัน ย่อมประกอบด้วยกลุ่มคน สถาบันทางสังคม และสถานภาพ บทบาทของคนในสังคม อ่านเพิ่มเติม
1.2 การจัดระเบียบทางสังคม
ความหมาย
การจัดระเบียบทางสังคมชี้ไปถึงการกระทำร่วมกันอย่างสงบในหมู่ชนที่แตกต่างกันในสังคม คนส่วนมากทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายที่เป็นอุปสรรคและการยอมรับตามบทบาทและตำแหน่งอันมีอยู่ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคม นอกจากนั้น สมาชิกของสังคมควรมีรูปแบบในจุดประสงค์ จุดมุ่งหมาย และแผนต่าง ๆ ร่วมกัน
ตามความเห็นของ Ogburn and Nimkoff “การจัดระเบียบทางสังคมเป็นการรวมส่วนที่แตกต่างกันของคนให้ปฏิบัติหน้าที่กันเป็นกลุ่ม การกระทำที่คิดขึ้นเพื่อการได้มาบางสิ่งที่เราทำ”อ่านเพิ่มเติม
1.3 การขัดเกลาทางสังคม
การขัดเกลาทางสังคม (Socialization)
คำที่มักใช้ในความหมายเดียวกัน คือ สังคมกรณ์, สังคมประกิต, การอบรมเรียนรู้ทางสังคม, การทำให้เหมาะสมแก่สังคม
คำจำกัดความ
เป็นกระบวนการทางสังคมกับทางจิตวิทยา ซึ่งมีผลทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพตามแนวทางที่สังคม
ต้องการ เด็กที่เกิดมาจะต้องได้รับการอบรมสั่งสอนให้เป็นสมาชิกที่สมบูรณ์ของสังคม สามารถอยู่
ร่วมและมีความสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างราบรื่น ทำ ให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงสภาพตามธรรมชาติเป็นมนุษย์ผู้มีวัฒนธรรม มีสภาพต่างจากสัตว์โลกชนิดอื่น อ่านเพิ่มเติม
1.4 ลักษณะสังคมไทย
ลักษณะสังคมไทย
.......1.เป็นสังคมที่มีโครงสร้างแบบหลวม ๆ คือ ผู้คนไม่เคร่งครัดต่อระเบียบ วินัย กฎเกณฑ์ ชอบความสะดวกสบาย สนุกสนาน การไม่เคร่งครัดต่อระเบียบวินัยเป็นผลให้เกิดความย่อหย่อนในการรักษา กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และกติกาของสังคม
.......2. เป็นสังคมเกษตร ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75 ประกอบอาชีพทางเกษตร
.........3. เป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น ยึดถือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นสำคัญ เช่น ทรัพย์สมบัติ ความร่ำรวย ตำแหน่งหน้าที่การงาน อำนาจ ชื่อเสียง ฯลฯ
.........4. เป็นสังคมที่มีการอพยพเคลื่อนย้ายไปสู่ถิ่นอื่นสูง เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ ยากจน อัตราการเกิดของประชาชนเพิ่มมากขึ้น อัตราการตายลดลง ทำให้ชาวชนบทอพยพเข้าเมืองหรืออพยพไปชนบทอื่น ๆ สูง ส่วนใหญ่เป็นการอพยพย้ายถิ่นแบบชั่วคราว เช่น ชาวอีสานไปรับจ้างในเมือง หรือเดินทางไปขายแรงงานในต่างประเทศ ฯลฯ
.........5. เป็นสังคมเปิด สังคมไทยยอมรับวัฒนธรรมต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความคิด วิถีดำเนินชีวิตไปจากเดิมเป็นอันมาก การพัฒนาประเทศจะให้ความสำคัญการพัฒนาวัตถุมากกว่าการพัฒนา จิตใจ สภาพวิถีชีวิตของบุคคลโดยเฉพาะสังคมเมืองเปลี่ยนแปลงไปโดยรวดเร็ว อ่านเพิ่มเติม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น