วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วัฒนธรรม



3.1 วัฒนธรรม
ความหมายของวัฒนธรรม 
           วัฒนธรรม หมายรวมถึง ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมา นับตั้งแต่ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา  กฎหมาย  ศิลปะ จริยธรรม ตลอดจนวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ เพราะการจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้มนุษย์จะต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและจะต้องรู้จักควบคุมความประพฤติของมนุษย์ด้วยกัน วัฒนธรรม คือคำตอบที่มนุษย์ในสังคมคิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ อ่านเพิ่มเติม

3.2 วัฒนธรรมไทย


วัฒนธรรมไทย  มีความหมายครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นแบบแผนในความคิด และการกระทำที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง มนุษย์ได้คิดสร้างระเบียบกฎเกณฑ์วิธีการในการปฏิบัติ การจัดระเบียบตลอดจนความเชื่อ ความนิยม ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการควบคุม และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ อ่านเพิ่มเติม

3.3 การเปลี่ยนแปลงและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย

            วัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่อดีตของสังคมไทยที่ควรเปลี่ยนแปลง

                1. การทำงาน คนไทยมักทำงานจับจด ชอบทำงานสบายที่ได้เงินดีโดยไม่ต้องเปลืองแรง มักโทษโชคชะตาที่ไม่เข้าข้างตน ไม่มีระเบียบวินัย สิ่งที่จะต้องสร้างให้เกิดขึ้น คือ

             1.1 ความขยันและอดทน ทำงานหนัก และพึ่งตนเอง พื้นฐานของความสำเร็จของชีวิตและสังคมจะขึ้นอยู่กับความขยันและอดทนของแต่ละคนเป็นสำคัญ ในระบบการศึกษาของชาติที่พัฒนา เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้สอนให้คนในชาติขยัน อดทน ทำงานหนักมาตั้งแต่เล็ก นักเรียนต้องศึกษาอย่างจริงจังต้องใช้เวลากับวิชาต่างๆอย่างมากพอ ต้องอดทนต่อการเรียนอย่างเต็มที่ ดังนั้นความสำเร็จในการศึกษาของนักเรียนของชาติที่พัฒนาจึงขึ้นอยู่กับความขยันการอดทนและการทำงานหนักของเด็ก และสิ่งนี้จะถูกปลูกฝังและสั่งสมไปจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่  เมื่อคนในชาติเหล่านี้มีคุณภาพสูงมาตั้งแต่ต้น พวกเขาก็จะกลายเป็นกลไลสำคัญที่ผลักดันให้ชาติของเขาเจริญก้าวหน้าและมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตลอดเวลา อ่านเพิ่มเติม

3.4 ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล

เมื่อสังคมแต่ละสังคมได้สร้างวัฒนธรรมของตนเองขึ้นมาและมีเอกลักษณ์เฉพาะ  ที่ตั้งอยู่บนสภาวะแวดล้อมทางกายภาพและสังคม  หรือบริบทของสังคมนั้นๆ  แต่วัฒนธรรมของสังคมทุกสังคมมีความคล้อยคลึงกัน มีวัฒนธรรมพื้นฐานที่เหมือนกัน  นักมานุษยวิทยาและนักสังคมวิทยา  เรียกกันว่า “วัฒนธรรมสากล (global culture)”  แม้จะมีวัฒนธรรมพื้นฐานที่เหมือนกัน  แต่วัฒนธรรมแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน  ดังตัวอย่างเช่น  ทุกสังคมจะมีภาษา  แต่ภาษาของแต่ละสังคมจะแตกต่างกัน  บางสังคมใช้ภาษาไทย  บางสังคมใช้ภาษาอังกฤษ  และบางสังคมใช้ภาษาอาหรับ อ่านเพิ่มเติม

3.5 การเลือรับวัฒนธรรมสากล

ในยุคปัจจุบันโลกของเรามีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอย่างสูง เป็นยุคแห่งโลกาภิวัฒน์ ที่มีการเชื่อมโยงถึงกันได้อย่างง่ายดาย มีการติดต่อซึ่งกันและกัน เมื่อมีการติดต่อสื่อสารกันมากขึ้น ก็ย่อมส่งผลให้วัฒนธรรมมีการผสมผสานกันมากขึ้น จนในที่สุดมนุษย์จึงต้องมีการค้นหาหรือสร้างวัฒนธรรมสากลในด้านต่างๆ ขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน เช่น มีการกำหนดภาษาสากล ระบอบการเมืองการปกครอง มาตรฐานด้านความปลอดภัย เป็นต้น

        การที่หลายประเทศในโลกรวมถึงประเทศไทยมีความต้องการจะพัฒนาตนเองเพื่อก้าวสู่ความเป็นสากล วัฒนธรรมสากลจึงมีความสำคัญซึ่งคนในสังคมจำเป็นที่จะต้องศึกษาและรับมาเป็นแนวทางหนึ่งในการดำเนินชีวิต เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองและก้าวทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันหากมีการรับวัฒนธรรมสากลมากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียทำให้วัฒนธรรมดั้งเดิมของชาติสูญหายไป อ่านเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น