วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทางสังคม
2.1 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนเกือบไม่มีอะไรเปลี่ยนอย่างสำคัญในรอบร้อยปี แต่ในระยะประมาณร้อยปีที่แล้วสังคมจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากสภาพสังคมแบบโบราณกลายเป็นสังคมสมัยใหม่ ที่เห็นชัดเจนคือการเปลี่ยนจากสังคมแบบเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม จากสังคมแบบชนบทมาเป็นสังคมเมือง เป็นต้น เนื้อหาต่อไปจะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในประเด็นต่างๆ อ่านเพิ่มเติม
2.2 ปํญหาทางสังคม
หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วม กันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น
สาเหตุของปัญหาสังคม
เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม การเป็นค่านิยมใหม่ ๆ ทำให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น
เกิดจากสมาชิกในสังคมบางกลุ่มไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมวางไว้ เช่น เกิดความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหมาย เกิดความล้มเหลวของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม หรือสมาชิกบางกลุ่มที่สร้างความเดือดร้อนให้ แก่สังคม ทำให้เกิดการขาดระเบียบและเป็นปัญหาทางสังคมขึ้น
เกิดจากการที่กลุ่มสังคมต่าง ๆ มีความคิดเห็นความต้องการและผลประโยชน์ขัดกันไม่ยอมร่วมมือแก้ไขปัญหา ของสังคม เช่น การเอาเปรียบลูกจ้าง เป็นต้น อ่านเพิ่มเติม
2.3 แนวทางการแก้ไขและพัฒนาสังคม
ประเทศไทยได้มีการกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศที่ชัดเจนไว้ในแผนพัฒนาเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ พุทธศักราช 2504 ในระยะแรกแผนพัฒนาจะเน้นเรื่องเศษฐกิจมากกว่าสังคม และได้มีจุดเปลี่ยนขึ้นในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
(พ.ศ. 2540-2544) ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมากขึ้น "โดยมุ่งเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา"
และใช้เศษฐกิจเป็นตัวช่วยพัฒนาให้คนในสังคม มีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จนมาถึงฉบับที่ 9 ( พ.ศ. 2545-2549 ) ก็ใช้แผนพัฒนาเป็นไปในทางเดียวกันกับฉบับที่ 8 โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุล ทั้งสองด้าน ทั้งด้านคน สังคม เศษฐกิจและ อ่านเพิ่มเติม
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น