วันพฤหัสบดีที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558

หน่วยการเรียนรู้ที่ 8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ




8.1 การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ

การประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ
ความหมายและความสำคัญการประสานประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศ
  การประสานประโยชน์
             การประสานประโยชน์ หมายถึง การร่วมมือกันเพื่อรักษาและป้องกันผลประโยชน์ของตน หรือระงับความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการแข่งขันทางการเมือง เศรษฐกิจระหว่างประเทศ
     ผลดีของความร่วมมือระหว่างประเทศ
             ก่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างประเทศก่อให้เกิดสันติภาพและความเป็นธรรม เกิดการช่วยเหลือ พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้า การแลกเปลี่ยนวัตถุดิบ เงินลงทุน เทคโนโลยีต่าง ๆ มากขึ้น    
    ผลเสียของการร่วมมือระหว่างประเทศ
             อาจก่อให้เกิดการกีดกัน นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มได้ อ่านเพิ่มเติม


8.2 การแลกเปลี่ยนความร่วมมือระหว่างกัน

ไทย – สาธารณรัฐฝรั่งเศส
1. ประธานาธิบดี ฌาคส์ ชีรัค
1.1 นายกรัฐมนตรีไทยเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการครั้งแรกระหว่างวันที่ 12-13 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 และครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9 -11 ตุลาคม พ.ศ. 2548

1.2 ประธานาธิบดีพบหารือกับายกรัฐมนตรีรวม 4 ครั้ง คือ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2546 ในระหว่างการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2547 เป็นการหารือนอกรอบการประชุม ASEM ครั้งที่ 5 ที่กรุงฮานอย ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ในระหว่างการเยือนฝรั่งเศสอย่างเป็นทางการ และล่าสุดเมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ในระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการ (State Visit) ของ ประธานาธิบดีชีรัค ซึ่ง Highlights ได้แก่
(1) การติดตามผลการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการร่วมไทย-ฝรั่งเศส (Joint Plan of Action)อาทิ การค้า การลงทุน อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 7 สิทธิมนุษย์ชน



ความหมายของ"สิทธิมนุษยชน"

มีผู้ให้คำนิยาม " สิทธิมนุษยชน " ไว้หลายความหมาย เช่น

           จากปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(Universal Declaration of Human Rights หรือ UDHR) ข้อ 1 ที่ระบุไว้ว่า บุคคลชอบที่จะมีสิทธิและเสรีภาพประดามีที่ระบุไว้ในปฏิญาณนี้ ทั้งนี้โดยไม่มีการจำแนกความแตกต่างในเรื่องใดๆ เช่น เชื้อชาติ สีผิว เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรือทางอื่นใด ชาติหรือสังคมอันเป็นที่มาเดิม ทรัพย์สิน กำเนิด หรือสถานะอื่นใด นอกจากนี้การจำแนกข้อแตกต่างโดยอาศัยมูลฐานแห่งสถานะทางการเมืองทางดุลอาณาหรือทางเรื่องระหว่างประเทศของประเทศ หรือดินแดนซึ่งบุคคลสังกัดจะทำมิได้ ทั้งนี้ไม่ว่าดินแดนดังกล่าวจะเป็นเอกราชอยู่ในความพิทักษ์ มิได้ปกครองตนเองหรืออยู่ภายใต้การจำกัดแห่งอธิปไตยอื่นใด1

           หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนได้รับอย่างเสมอภาคกันเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างสันติสุข มีศักดิ์ศรี มีเสรีภาพ มีไมตรีจิต และมีความเมตตาต่อกัน โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างในเรื่องเชื้อชาติ สีผิว เพศ อายุ ภาษา ศาสนา สถานภาพทางกาย หรือสุขภาพ2

           หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการคุ้นครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฏหมายไทยหรือสนธิสัญญาที่ประเทศไทยเป็นภาคี
อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 กฏหมาย



ความหมายของกฎหมาย

กฎหมาย คือ  กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น  หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ  เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ  เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม

2.   ความสำคัญของกฎหมาย

2.1        เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยในสังคม  กิจกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศ  จะมีทั้งทางเศรษฐกิจ  สังคม  และการเมือง

2.2        เพื่อควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในสังคมให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม

2.3        เพื่อปกป้องและรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน

3.   ลักษณะของกฎหมาย

3.1        เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับเพื่อให้บุคคลปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติที่มีผลบังคับครอบคุมอย่างกว้างขว้างภายในอาณาเขตของรัฐแห่งหนึ่งๆ

3.2        เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ตราขึ้นโดยรัฐ

3.3        ต้องมีสภาพบังคับกฎหมายเมื่อตราออกมาหรือประกาศใช้แล้ว

3.4        มีผลใช้บังคับตลอดไป

3.5        มีความเสมอภาคและยุติธรรม อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข



5.1 รัฐ

รัฐ คือ กลไกทางการเมืองโดยมีอำนาจอธิปไตยปกครองดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและมีประชากรแน่นอน โดยอำนาจดังกล่าวเบ็ดเสร็จทั้งภายในและภายนอกรัฐ ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นหรืออำนาจอื่นจากภายนอก และอาจกล่าวได้ว่า รัฐสามารถคงอยู่ได้แม้จะไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอื่น เพียงแต่รัฐที่ไม่ได้รับการรับรองเหล่านี้ มักจะพบว่าตนประสบอุปสรรคในการเจรจาสนธิสัญญากับต่างประเทศและดำเนินกิจการทางการทูตกับรัฐอื่น องค์ประกอบสำคัญของรัฐ มี 4 ประการ คือ อ่านเพิ่มเติม

5.2 ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์


      ตามการปกครองระบอบประชาธิปประไตย  อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขนั้น  เป็นการปกครองรูปแบบที่พระองค์จะทรงใช้พระราชอำนาจในฐานะประมุขของรัฐและในฐานะอื่นๆซึ่งเป็นไปตามที่รับธรรมนูญกำหนดไว้ ดังนี้
1. ทรงดำรงอยู่ในฐานะเป็นที่เคารพสักการะ  ผู้ใดจะละเมิดมิได้  และผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้ององค์พระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้
2. ทรงดำรงตำแหน่งจอมทัพไทย  ทรงเป็นมิ่งขวัญของทหารทุกเหล่าทัพ
3. ทรงเป็นพุทธมามกะ  และยังทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
4. ทรงไว้ซึ่งอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์  และพระราชทานเครื่องราชอิสริยภรณ์รวมทั้งถอดถอนเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์
5. ทรงไว้พระราชอำนาจในการแต่งตั้งประธานสภาผู้แทนราษฎรประธานวุฒิสภา  รองประธานสภา  ผู้แทนราษฎร  รองประธานวุฒิสภา   และผู้นำฝ่ายค้านในสภาผูแทนราษฎร
6. ทรงไว้ซึ่งอำนาจในการเรียกประชุมรัฐสภา อ่านเพิ่มเติม

5.3 การตรวจสอบการใช้อำนาจของรัฐ

รูปแบบความสัมพันธ์ของการเมืองแบบมีส่วนร่วม (Participative Politics)

ความล้มเหลวของระบบประชาธิปไตย โดยผู้แทนได้ส่งผลกระทบในทางลบต่อการพัฒนาการเมือง การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม นักวิชาการจึงได้เสนอทางออกเพื่อแก้ไขปัญหาและจุดอ่อนของระบบประชาธิปไตยโดยผู้แทน โดยการเสนอระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมมาทดแทน หลักการสำคัญของระบบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมยึดหลักพื้นฐานที่ว่า ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย ประชาชนสามารถใช้อำนาจได้เสมอแม้ว่าได้มอบอำนาจให้กับผู้แทนของประชาชนไปใช้ในฐานะที่เป็น “ตัวแทน” แล้วก็ตาม แต่ประชาชนก็สามารถเฝ้าดู ตรวจสอบควบคุมและแทรกแซงการทำหน้าที่ของตัวแทนของประชาชนได้เสมอ โดยสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ 4 ลักษณะ คือ อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ผลเมืองดี



4.1 พลเมืองดี

ความหมาย
       พลเมืองดี หมายถึง ประชาชนที่ประพฤติปฏิบัติตามระเบียบกฎเกณฑ์ของสังคมมีความรับผิดชอบต่อ
หน้าที่ ของตนเอง รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมไม่ละเมิดล่วงล้ำสิทธิ
และเสรีภาพของ บุคคลอื่น
ความสำคัญ
      พลเมืองเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมของสังคมไทย เช่นเดียวกับสังคมอื่น ๆ ทุกสังคมย่อมต้องการพลเมืองที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายถึงความมีร่างกายจิตใจดี คิดเป็น ทำเป็น แก้ไขปัญหาได้ มีประสิทธิภาพเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้า ความมั่นคงให้กับประเทศชาติและการเป็นพลเมืองดีนั้นย่อมต้องการปฏิบัติตามบรรทัดฐานและขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมมีคุณธรรมเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอีกด้วย เพื่อการพัฒนาสังคมให้ยั่งยืน อ่านเพิ่มเติม

4.2 คุณลักษณะของพลเมืองดี

คุณลักษณะของพลเมืองดีที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการอยู่ร่วมกันอย่างราบรื่น  และช่วยจรรโลงให้สังคมประเทศชาติและโลกพัฒนาก้าวหน้า  มีดังนี้

1.ต้องเป็นบุคคลที่เคารพกฏหมาย
2.ต้องเป็นบุคคลที่เคารพสิทธิและเสรีภาพของตนเองและบุคคลอื่น
3.ต้องเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่มีต่อครอบครัว  ดรงเรียน  ชุมชน  ประเทศชาติ  และสังคมโลก
4.ต้องเป็นบุคคลที่มีเหตุผล  ใจกว้าง  และรับฟังความคิดเห็นของคนบุคคลอื่นเสมอ
5.ต้องเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมและจริยธรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน
6.ต้องเป็นบุคคลที่มีความกระตือรือร้นที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของชุมชน  ประเทศชาติ  และสังคมโลก  หรือองค์กรที่ตนสังกัดอยู่  เช่น  ร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาสภาพแวดล้อมของโรงเรียนและชุมชนให้ดีขึ้น อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วัฒนธรรม



3.1 วัฒนธรรม
ความหมายของวัฒนธรรม 
           วัฒนธรรม หมายรวมถึง ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมา นับตั้งแต่ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา  กฎหมาย  ศิลปะ จริยธรรม ตลอดจนวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ เพราะการจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้มนุษย์จะต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและจะต้องรู้จักควบคุมความประพฤติของมนุษย์ด้วยกัน วัฒนธรรม คือคำตอบที่มนุษย์ในสังคมคิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ อ่านเพิ่มเติม

3.2 วัฒนธรรมไทย


วัฒนธรรมไทย  มีความหมายครอบคลุมถึงทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นแบบแผนในความคิด และการกระทำที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง มนุษย์ได้คิดสร้างระเบียบกฎเกณฑ์วิธีการในการปฏิบัติ การจัดระเบียบตลอดจนความเชื่อ ความนิยม ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการควบคุม และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ อ่านเพิ่มเติม

3.3 การเปลี่ยนแปลงและอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไทย

            วัฒนธรรมไทยที่มีมาแต่อดีตของสังคมไทยที่ควรเปลี่ยนแปลง

                1. การทำงาน คนไทยมักทำงานจับจด ชอบทำงานสบายที่ได้เงินดีโดยไม่ต้องเปลืองแรง มักโทษโชคชะตาที่ไม่เข้าข้างตน ไม่มีระเบียบวินัย สิ่งที่จะต้องสร้างให้เกิดขึ้น คือ

             1.1 ความขยันและอดทน ทำงานหนัก และพึ่งตนเอง พื้นฐานของความสำเร็จของชีวิตและสังคมจะขึ้นอยู่กับความขยันและอดทนของแต่ละคนเป็นสำคัญ ในระบบการศึกษาของชาติที่พัฒนา เช่น ยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ได้สอนให้คนในชาติขยัน อดทน ทำงานหนักมาตั้งแต่เล็ก นักเรียนต้องศึกษาอย่างจริงจังต้องใช้เวลากับวิชาต่างๆอย่างมากพอ ต้องอดทนต่อการเรียนอย่างเต็มที่ ดังนั้นความสำเร็จในการศึกษาของนักเรียนของชาติที่พัฒนาจึงขึ้นอยู่กับความขยันการอดทนและการทำงานหนักของเด็ก และสิ่งนี้จะถูกปลูกฝังและสั่งสมไปจนกระทั่งเติบโตเป็นผู้ใหญ่  เมื่อคนในชาติเหล่านี้มีคุณภาพสูงมาตั้งแต่ต้น พวกเขาก็จะกลายเป็นกลไลสำคัญที่ผลักดันให้ชาติของเขาเจริญก้าวหน้าและมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตลอดเวลา อ่านเพิ่มเติม

3.4 ความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมสากล

เมื่อสังคมแต่ละสังคมได้สร้างวัฒนธรรมของตนเองขึ้นมาและมีเอกลักษณ์เฉพาะ  ที่ตั้งอยู่บนสภาวะแวดล้อมทางกายภาพและสังคม  หรือบริบทของสังคมนั้นๆ  แต่วัฒนธรรมของสังคมทุกสังคมมีความคล้อยคลึงกัน มีวัฒนธรรมพื้นฐานที่เหมือนกัน  นักมานุษยวิทยาและนักสังคมวิทยา  เรียกกันว่า “วัฒนธรรมสากล (global culture)”  แม้จะมีวัฒนธรรมพื้นฐานที่เหมือนกัน  แต่วัฒนธรรมแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน  ดังตัวอย่างเช่น  ทุกสังคมจะมีภาษา  แต่ภาษาของแต่ละสังคมจะแตกต่างกัน  บางสังคมใช้ภาษาไทย  บางสังคมใช้ภาษาอังกฤษ  และบางสังคมใช้ภาษาอาหรับ อ่านเพิ่มเติม

3.5 การเลือรับวัฒนธรรมสากล

ในยุคปัจจุบันโลกของเรามีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีอย่างสูง เป็นยุคแห่งโลกาภิวัฒน์ ที่มีการเชื่อมโยงถึงกันได้อย่างง่ายดาย มีการติดต่อซึ่งกันและกัน เมื่อมีการติดต่อสื่อสารกันมากขึ้น ก็ย่อมส่งผลให้วัฒนธรรมมีการผสมผสานกันมากขึ้น จนในที่สุดมนุษย์จึงต้องมีการค้นหาหรือสร้างวัฒนธรรมสากลในด้านต่างๆ ขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน เช่น มีการกำหนดภาษาสากล ระบอบการเมืองการปกครอง มาตรฐานด้านความปลอดภัย เป็นต้น

        การที่หลายประเทศในโลกรวมถึงประเทศไทยมีความต้องการจะพัฒนาตนเองเพื่อก้าวสู่ความเป็นสากล วัฒนธรรมสากลจึงมีความสำคัญซึ่งคนในสังคมจำเป็นที่จะต้องศึกษาและรับมาเป็นแนวทางหนึ่งในการดำเนินชีวิต เพื่อที่จะพัฒนาศักยภาพของตนเองและก้าวทันความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันหากมีการรับวัฒนธรรมสากลมากเกินไป ก็อาจส่งผลเสียทำให้วัฒนธรรมดั้งเดิมของชาติสูญหายไป อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาทางสังคม



2.1 การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนเกือบไม่มีอะไรเปลี่ยนอย่างสำคัญในรอบร้อยปี แต่ในระยะประมาณร้อยปีที่แล้วสังคมจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากสภาพสังคมแบบโบราณกลายเป็นสังคมสมัยใหม่ ที่เห็นชัดเจนคือการเปลี่ยนจากสังคมแบบเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม จากสังคมแบบชนบทมาเป็นสังคมเมือง เป็นต้น เนื้อหาต่อไปจะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในประเด็นต่างๆ อ่านเพิ่มเติม

2.2 ปํญหาทางสังคม

       หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วม กันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น

สาเหตุของปัญหาสังคม

เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม การเป็นค่านิยมใหม่ ๆ ทำให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น
เกิดจากสมาชิกในสังคมบางกลุ่มไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมวางไว้ เช่น เกิดความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหมาย เกิดความล้มเหลวของกระบวนการขัดเกลาทางสังคม หรือสมาชิกบางกลุ่มที่สร้างความเดือดร้อนให้ แก่สังคม ทำให้เกิดการขาดระเบียบและเป็นปัญหาทางสังคมขึ้น
เกิดจากการที่กลุ่มสังคมต่าง ๆ มีความคิดเห็นความต้องการและผลประโยชน์ขัดกันไม่ยอมร่วมมือแก้ไขปัญหา ของสังคม เช่น การเอาเปรียบลูกจ้าง เป็นต้น  อ่านเพิ่มเติม

2.3  แนวทางการแก้ไขและพัฒนาสังคม

ประเทศไทยได้มีการกำหนดทิศทางในการพัฒนาประเทศที่ชัดเจนไว้ในแผนพัฒนาเศษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งเริ่มตั้งแต่  พุทธศักราช  2504 ในระยะแรกแผนพัฒนาจะเน้นเรื่องเศษฐกิจมากกว่าสังคม และได้มีจุดเปลี่ยนขึ้นในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่  8
(พ.ศ. 2540-2544)  ที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนมากขึ้น  "โดยมุ่งเน้นให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา"
และใช้เศษฐกิจเป็นตัวช่วยพัฒนาให้คนในสังคม มีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น   จนมาถึงฉบับที่  9 ( พ.ศ. 2545-2549 )  ก็ใช้แผนพัฒนาเป็นไปในทางเดียวกันกับฉบับที่ 8  โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาที่สมดุล ทั้งสองด้าน  ทั้งด้านคน  สังคม  เศษฐกิจและ อ่านเพิ่มเติม

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 สังคม




1.1 โครงสร้างทางสังคม
  ความหมายของโครงสร้างทางสังคม
.......... โครงสร้างทางสังคม หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจำนวนหนึ่ง ซึ่งมีแบบแผนในการปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน โครงสร้าง ของสังคม เปรียบได้กับบ้านเรือนที่เราอาศัยอยู่อย่าง สมบูรณ์ ประกอบด้วย โครงสร้างที่สำคัญหลายอย่าง เช่น คาน หลังคา พื้น ฝา ประตู หน้าต่าง เป็นต้น โครงสร้างของสังคมก็เช่นเดียวกัน ย่อมประกอบด้วยกลุ่มคน สถาบันทางสังคม และสถานภาพ บทบาทของคนในสังคม อ่านเพิ่มเติม

1.2 การจัดระเบียบทางสังคม


ความหมาย

การจัดระเบียบทางสังคมชี้ไปถึงการกระทำร่วมกันอย่างสงบในหมู่ชนที่แตกต่างกันในสังคม คนส่วนมากทำงานโดยมีจุดมุ่งหมายที่เป็นอุปสรรคและการยอมรับตามบทบาทและตำแหน่งอันมีอยู่ เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางสังคม นอกจากนั้น สมาชิกของสังคมควรมีรูปแบบในจุดประสงค์ จุดมุ่งหมาย และแผนต่าง ๆ ร่วมกัน

ตามความเห็นของ Ogburn and Nimkoff “การจัดระเบียบทางสังคมเป็นการรวมส่วนที่แตกต่างกันของคนให้ปฏิบัติหน้าที่กันเป็นกลุ่ม การกระทำที่คิดขึ้นเพื่อการได้มาบางสิ่งที่เราทำ”อ่านเพิ่มเติม

1.3 การขัดเกลาทางสังคม

   การขัดเกลาทางสังคม (Socialization)

      คำที่มักใช้ในความหมายเดียวกัน คือ สังคมกรณ์, สังคมประกิต, การอบรมเรียนรู้ทางสังคม, การทำให้เหมาะสมแก่สังคม

คำจำกัดความ
          เป็นกระบวนการทางสังคมกับทางจิตวิทยา ซึ่งมีผลทำให้บุคคลมีบุคลิกภาพตามแนวทางที่สังคม
ต้องการ เด็กที่เกิดมาจะต้องได้รับการอบรมสั่งสอนให้เป็นสมาชิกที่สมบูรณ์ของสังคม สามารถอยู่
ร่วมและมีความสัมพันธ์กับคนอื่นได้อย่างราบรื่น ทำ ให้มนุษย์เปลี่ยนแปลงสภาพตามธรรมชาติเป็นมนุษย์ผู้มีวัฒนธรรม มีสภาพต่างจากสัตว์โลกชนิดอื่น อ่านเพิ่มเติม

1.4 ลักษณะสังคมไทย

ลักษณะสังคมไทย
.......1.เป็นสังคมที่มีโครงสร้างแบบหลวม ๆ คือ ผู้คนไม่เคร่งครัดต่อระเบียบ วินัย กฎเกณฑ์ ชอบความสะดวกสบาย สนุกสนาน การไม่เคร่งครัดต่อระเบียบวินัยเป็นผลให้เกิดความย่อหย่อนในการรักษา กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ และกติกาของสังคม
.......2. เป็นสังคมเกษตร ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 75 ประกอบอาชีพทางเกษตร
.........3. เป็นสังคมที่มีการแบ่งชนชั้น ยึดถือฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมเป็นสำคัญ เช่น ทรัพย์สมบัติ ความร่ำรวย ตำแหน่งหน้าที่การงาน อำนาจ ชื่อเสียง ฯลฯ
.........4. เป็นสังคมที่มีการอพยพเคลื่อนย้ายไปสู่ถิ่นอื่นสูง เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำ ยากจน อัตราการเกิดของประชาชนเพิ่มมากขึ้น อัตราการตายลดลง ทำให้ชาวชนบทอพยพเข้าเมืองหรืออพยพไปชนบทอื่น ๆ สูง ส่วนใหญ่เป็นการอพยพย้ายถิ่นแบบชั่วคราว เช่น ชาวอีสานไปรับจ้างในเมือง หรือเดินทางไปขายแรงงานในต่างประเทศ ฯลฯ
.........5. เป็นสังคมเปิด สังคมไทยยอมรับวัฒนธรรมต่างชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความคิด วิถีดำเนินชีวิตไปจากเดิมเป็นอันมาก การพัฒนาประเทศจะให้ความสำคัญการพัฒนาวัตถุมากกว่าการพัฒนา จิตใจ สภาพวิถีชีวิตของบุคคลโดยเฉพาะสังคมเมืองเปลี่ยนแปลงไปโดยรวดเร็ว อ่านเพิ่มเติม